ICT Evolution in Education - 24 มิ.ย. – 7 ก.ค 2556
PRE-STUDY SEARCH
GROUP 1 | GROUP 2 | GROUP 3
PRE-STUDY REPORT
GROUP 1
21 / 06 / 2013
11.45 A.M.
Pre-Study - Basic Knowledge on ICT
นางสาวจนัญญา งามเนตร
เลขประจำตัวนิสิต 5617650246
สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน (ภาคพิเศษ)
วิทยาเขตบางเขน
คำสั่ง : ให้นิสิตแบ่งงานกันอ่านศึกษาค้นคว้าเว็บไซต์ที่แนะนำ
หัวข้อที่ดิฉันรับผิดชอบ มี 2 หัวข้อ ดังนี้
1. การพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาด้วยไอที
http://www.drkanchit.com/presentations/e-edu.pdf
สรุปประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้
สถานศึกษาในยุคอิเล็กทรอนิกส์
1. โลกในยุคอิเล็กทรอนิกส์
- ปัจจุบันเรานิยมเรียกแนวคิดและการดำเนินงานแบบใหม่ที่อาศัยระบบอินเทอร์เน็ตเป็นพื้นฐาน ด้วยคำ ที่ขึ้นต้นด้วย Electronic หรือ e... และบางครั้งก็ด้วยคำว่า digital และ virtual เช่น e-mail, e-commerce, e-learning และ digital library, virtual university
2. โลกยุค e มีกระบวนทัศน์ใหม่
ธรรมชาติของโลกยุคใหม่ คือ
- Anytime - Anywhere
- Online - Interactive
- Cost - Energy Saving
- One stop service
- Sustainability
3. สถานศึกษาต้องคิดใหม่ ในกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้
- การเรียนการสอน
- การติดต่อสื่อสาร
- การให้บริการ
- การปฏิบัติงานภายใน
- การประเมิน
- การบริหารจัดการ
4. เนื้อแท้ของการเปลี่ยนแปลง
- หลักสูตร
- การดำเนินงานเพื่อสนับสนุนหลักสูตร
- อาจารย์ต้องเปลี่ยนทัศนคติและวิธีการสอน
- นักเรียนต้องเปลี่ยนรูปแบบการเรียน
- ผู้บริหารต้องเปลี่ยนกลยุทธ์
ลักษณะของการเปลี่ยนแปลง
1. ปัญหาของการอุดมศึกษาในปัจจุบัน
- ไม่ได้ตอบสนองความต้องการของประเทศ
- บัณฑิตจำนวนมากด้อยคุณภาพ
2. บัณฑิตไทยที่พึงประสงค์
- มีคุณธรรมและรักประเทศไทย
- มีความรู้ ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ และสามารถคิดหาเหตุผลได้อย่างแท้จริง
- สามารถติดต่อสื่อสารและแสดงออกได้ดีทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- สามารถพัฒนาและสร้างงานได้เอง
3. การสร้างบัณฑิตรูปแบบใหม่ต้องคิดใหม่
- สถานศึกษาต้องปรับตัวใหม่
- พยายามนำไอทีเข้ามาใช้อย่างเต็มที่
- พัฒนาอาจารย์ให้เปลี่ยนทัศนคติ และจัดให้เกิดการเรียนการสอนแบบใหม่
4. แนวคิดของการศึกษาแผนใหม่
- ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
- การเรียนรู้ร่วมกัน
- เนื้อหาที่ยืดหยุ่นและมีรูปแบบหลากหลาย
- การใช้เทคโนโลยี
5. การเรียนรู้แบ่งเป็นสองค่าย
- OBJECTIVIST
- CONSTRUCTIVIST
6. การผสมผสานสองค่าย
- การเรียนการสอนเป็นแนวคิดแบบ TRANSFORMATIONAL
- การเรียนรู้แบบ active
CAI กับ WBT
1. คอมพิวเตอร์กับ CAI
- มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการเรียนการสอน
- ระบบที่พัฒนาขึ้นระยะแรก คือ PLATO
- ยังไม่ประสบผลสำเร็จ
2. การเฟื่องฟูของ CAI
- เฟื่องฟูจากความแพร่หลายของ PC
- สถาบันทั้งหลายเริ่มนำ PC มาใช้ในการเรียนการสอน
- ครู อาจารย์ เริ่มสนใจการพัฒนาโปรแกรม CAI
- บริษัทซอฟต์แวร์เริ่มผลิต Authoring Tools
3. แนวทางการพัฒนาโปรแกรมบทเรียน
- เขียนโปรแกรมเรียงลำดับคำโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับโปรแกรม (คอมพิวเตอร์) โดยภาษาคอมพิวเตอร์ทั่วไป
- ใช้เครื่องมือช่วยสร้างโปรแกรมบทเรียน
4. แนวทางการพัฒนา CAI
5. CAI ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น WBT
- ระบบอินเทอร์เน็ต และ เวิลด์ไวด์เว็บ ทำให้สะดวกแก่การนำเสนอโปรแกรมบทเรียนทางเว็บ
- อาจารย์ได้รับการสนับสนุนให้จัดสร้างเว็บไซต์
- หากมีเนื้อหามากพอก็จะทำให้เป็น Virtual University ในระดับขั้นต้นได้
แนวทางการทำ WBT
1. ประกาศนโยบายและเตรียมการ
- ผู้บริหารมหาวิทยาลัยจะต้องประกาศนโยบายอย่างชัดเจน
- แต่งตั้งผู้รับผิดชอบและคณะกรรมการ
- ศึกษาการดำเนินงานของที่อื่น
- สำรวจสถานภาพและความพร้อมของมหาวิทยาลัย
- จัดทำแผนกลยุทธ์และแผนดำเนินการ
2. รายละเอียดที่ต้องศึกษา / ดำเนินการ
- โครงสร้างพื้นฐานไอทีของมหาวิทยาลัย
- ทัศนคติและความพร้อมของอาจารย์และนักศึกษา
- หลักสูตรและวิชาที่สมควรปรับเปลี่ยน
- จัดสัมมนาและฝึกอบรมแก่อาจารย์
- ปรับระบบไอทีทั้งมหาวิทยาลัย
3. ประเด็นที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติม
- ดัชนีชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
- วิธีการประเมินและหาดัชนี
- แนวทางการปรับเปลี่ยนจากมหาวิทยาลัยแบบเดิมเป็นมหาวิทยาลัยเสมือน
- แนวทางเชิงรุกสำหรับอนาคต
สรุป
- การเลือกแนวทางต้องให้สอดคล้องกับยุคสมัย
- การปรับปรุงต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร
- การดำเนินงานต้องได้รับความร่วมมือจากทุกคน
2. E-Learning
http://www.drkanchit.com/faq/faq0008.html
สรุปประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้
1. E-Learning หมายถึง การนำเอาบทเรียนบรรจุไว้ในเว็บให้นิสิตนักศึกษาได้เข้าไปศึกษาค้นคว้าความรู้ด้วยตนเอง
2. แนวคิดเรื่อง E-Learning นี้ยังไม่มีหลักฐานปรากฏเป็นที่ชัดเจนว่าใครเป็นผู้ริเริ่มใช้ แต่คงจะมีคนคิด ได้พร้อม ๆ กันหลายคน และพัฒนาขึ้นมาพร้อมกันหลายคน แล้วแต่ว่าจะมีใครคิดได้ลึกซึ้งกว่าและพัฒนาได้ประทับใจมากกว่ากัน
3. ในประเทศไทยมีอาจารย์หลายคนนำเอาบทเรียน E-Learning บรรจุไว้ในเว็บให้นิสิตนักศึกษาอ่านหลายคน
4. จากการสันนิษฐานของ ดร. ครรชิต มาลัยวงศ์ เกี่ยวกับ E-Learning นั้น ท่านได้สันนิษฐานไว้ว่าคนที่เริ่มผลักดันเรื่อง E-Learning ก่อนน่าจะเป็น อ. ยืน ภู่วรวรรณ ซึ่งทำเรื่องนี้ในขณะที่เป็นผู้อำนวยการสำนักงานบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
5. การประยุกต์ใช้ E-Learning สามารถประยุกต์ใช้ได้หลายด้าน เช่น ด้านการฝึกอบรม การเรียนการสอน การพัฒนาความรู้ และทักษะส่วนตัวให้แก่คนทั่วไป
GROUP 2
GROUP 3
สรุปเป็นประเด็นเห็นได้ชัดเจนดีค่ะ
ReplyDeleteจากบทความ E-Learning
ReplyDeleteมีแนวโน้มการพัฒนาในหลายๆ ด้านของวงการศึกษา เนื่องเพราะระบบการจัดการศึกษาปัจจุบันที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างกว้างขวาง...
ผู้เขียนนำสรุปได้ดีและชัดเจนคะ
e-leaning มีประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา และแนวโน้มในอนาคตจะมีความแพร่หลายในด้านการศึกษามากขึ้น แต่ก็ยังมีข้อจำกัดของการเรียนในรายวิชาอยู่ค่ะ เช่นรายวิชาปฏิบัติ ผู้เขียนสรุปเนื้อหาได้กระชับและชัดเจนค่ะ
ReplyDeleteการพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาด้วยไอทีแนวโน้มอนาคตจะมีความหลากหลาย เหมาะสมต่อการศึกษาต่อไป
ReplyDeleteสรุปได้ละเอียดและเข้าใจชัดเจนดีมากค่ะ
ReplyDelete